การผสมเกสร ของ รองเท้านารี ในธรรมชาติ
Paphiopedilum และ Phragmipedium เป็นดอกกล้วยไม้ที่มีกระเป๋าที่อาศัยแมลงวันในการผสมเกสร ในขณะที่ Cypripedium และ Selenipedium เป็นพวกที่อาศัยผึ้งในการผสมเกสร
ดอกไม้ที่สีสันแปลกๆ บางทีมีขนประหลาดๆ และ บางที แถมยังมีจุดประอยู่บนส่วนของดอกอีกด้วย เป็นลักษณะของการปรับตัวของดอกไม้ที่จะให้สะดุดตา เพื่อล่อแมลง ตัวอย่างเช่น ในลักษณะหางยาวๆของกลีบดอกใน Paph. sanderianum ทำหน้าที่เหมือนที่ ล่อแมลง เหมือนกันในกรณีของ Paph. fairrieanum ที่กลีบหลังคา (dorsal) มีลักษณะเหมือนหน้าต่างโปร่งแสงทำหน้าที่ เป็นแสงนำให้แมลงเดินขึ้น ในขณะที่ Paph. concolor, Paph. delenatii และ Paph. malipoense ก็มีกลิ่นเหมือนผลไม้ หรือกลิ่นน้ำผึ้ง ซึ่งอย่างไรก็ตาม พันธ์แท้ พวกนี้ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นอ่อนๆ แล้วก็มักมีสีสันที่สดใส ซึ่งก็เป็นสิ่งดึงดูด แมลงนักผสมเกสรอยู่แล้ว การผสมข้ามต้น (cross-polliantion) โดยแมลงเห็นได้ชัดเจนมากในรองเท้านารี ส่วนการผสมตัวเอง (self-pollination) จะเห็นได้ใน Phragmipedium lindenii ในลักษณะที่ปาก(กระเป๋า)ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลีบดอกที่หายไปใน พันธุ์นี้
มีการศึกษา การผสมเกสร ใน Paph. villosum และ Paph. purpuratum พบว่า เป็นการผสม โดยแมลงวัน (myophily) และมีการศึกษาแบบเดียวกัน โดยเจอแมลงวัน ในกระเป๋าของ Paph. barbatum ในกรีนเฮ้าส์ที่อิตาลี จากการเฝ้าสังเกตในลักษณะที่เหมือนกันนี้ การผสมแบบนี้ยังพบได้ใน Paph. insigne แต่ในในกระเป๋าของ Paph. hennisianum พบว่ามี แมลงวันดอกไม้ (syrphid flies) ในการปลูกเลี้ยงที่ฟลอริดา
รายละเอียดการศึกษาในเรื่องการผสมเกสรของรองเท้านารีทางภาคสนามจริงๆ แล้วมีเพียงของ Paph. rothschildianum และรองเท้านารี สายทาง บอร์เนียว ตัวอื่นในเทือกเขา คินาบาลู และ Paph. villosum ทางภาคเหนือของไทย พบว่ามี แมลงวันดอกไม้ (Syrphid fly), Dideopsis aegrota ทำหน้าที่ช่วยผสมเกสรให้กับ Paph. rothschildianum ซึ่งดอกของมันจะส่งกลิ่นฉุนเหมือนกลิ่นพริกไทย และ ก็หลอกให้แมลงวันตัวเมียมองเห็นว่าตรงโล่ (staminode) ของ Paph. rothschildianum เหมือนที่วางไข่ของพวกมัน เคยพบว่ามีจำนวนไข่แมลงมากถึง 76 ฟองบนโล่ (staminode) เพียงอันเดียว ซึ่งหลังจากที่บินมาร่อนลงที่โล่ (staminode) และอับเกสรตัวผู้แล้วแมลงวันก็จะตกลงไปในกระเป๋าของรองเท้านาร ีแล้วการหลบหนีเพียงทางเดียวที่ทำได้คือการคลานขึ้นไปตามขนเล็กๆ ซึ่งทางนี้จะนำไปสู่บริเวณด้านใต้ของเกสรตัวเมีย และ ผ่านอับเกสรตัวผู้ โดยโผล่ออกมาตามทางออกข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะอยู่ทางด้านข้างฐานของก้านเกสรตัวเมีย (column) เกสรตัวผู้ จะติดที่หลังแมลง ซึ่งการผสมเกสรจะเกิดผล ก็ต่อเมื่อแมลงบินไปตกลง ในกระเป๋า ดอกรองเท้าอีกดอกหนึ่ง ในการทำแบบนี้จริงๆแล้วไม่ได้เกิดผลประโยชน์ใดๆ ต่อแมลงเลย ไข่ที่มาวางไว้ก็ไม่ได้ฟักออกมา ถ้าเป็นตัว ตัวอ่อนก็อดอาหารตาย ซึ่งก็เหมือนกับการที่แมลงบินเข้าไปตอมดอกไม ้ที่ไม่ได้มีน้ำหวานอะไรเลย ต่อมขนที่อยู่รอบๆ staminode ดูเหมือนกับกลุ่มของพวกตัวเพลี้ยซึ่งเหมาะต่อการวางไข่ของแมลงวัน
การศึกษานี้รวมไปถึงกลุ่มของ Paph. hookerare var. volontianum และ Paph. javanicum var. virens ที่เติบโตบนยอดเขาคินาบาลู แต่ไม่สามารถระบุถึงตัวที่มาทำหน้าที่ผสมเกสรได้ จากตัวอย่าง18 ดอก ซึ่งตอนหลังได้บันทึกไว้ว่ามี 3 ดอกที่ถูกผสมเกสรในช่วง 6 สัปดาห์ หลังจากดอกเริ่มบาน เมล็ดจำนวนมากถูกสร้างหลังจากผสมเกสรที่ประสบความสำเร็จแล้ว ไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมมีการติดฝัก จำนวนน้อย เนื่องจากมีไข่แมลงเพียงฟองเดียวที่ถูกพบอยู่บน staminode ของ P. hookerare var. volontianum ซึ่งเป็นต้นที่อยู่ใกล้บริเวณ P. rothschildianum
ในปี1983 ในการเยือนคินาบาลู Phillip Cribb ได้เก็บตัวอย่าง แมลงวันดอกไม ้ที่ตายอยู่ระหว่างกระเป๋า และ ตรงก้านเกสรตัวเมียของ Paph. javanicum var. virens เค้าได้ตั้งข้อสังเกตว่า มีแมลงที่ติดอยู่ และ ตาย ดังนั้นการที่จะเป็นแมลงนักผสมเกสรได้ควรจะ เป็นขนาดที่เล็กกว่า แล้วเค้าก็ยังเจอไข่ของแมลงวันดอกไม้อยู่บนโล่ (staminode) ของ Paph. philippinense ในสภาพปลูกเลี้ยงที่ Vanuatu ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแปซิฟิก
จากการศึกษาถึงสาเหตุที่กลีบดอกของ Paph. rothschildianum ที่ยาวออกมา มีข้อสนับสนุนว่า กลิ่นของดอกไม้ฟุ้งกระจายออกมาจาก ตรงจุดศูนย์กลางของดอกมากกว่ากลีบดอก ส่วนปริศนาของกลีบดอกของ P. sanderianum ที่ยาวเป็นเมตร ก็ยังคงทำให้นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการผสมเกสรต้องอยากรู้คำตอบต่อไป
มีข้อสนับสนุนถึงกรณีศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับ แมลงวันดอกไม้ กับการผสมเกสรใน paph. villosum การศึกษากลุ่มประชากรหลายๆ กลุ่ม ของ ไม้อิงอาศัย (Epiphyte) ชนิดนี้ท่ามกลางป่าดิบชื้นทางตอนเหนือของประเทศไทย ดอกของ Paph. villosum มีช่วงระยะเวลาในออกดอกยาวถึง 4.5 เดือน จึงเป็นดอกไม้ที่บานหลายสัปดาห์ก่อนที่จะโรย เกสรตัวผู้จำนวน15 ดอก ได้ถูกเฝ้าสังเกต แมลงวันห้ำเพศตัวเมีย (hover fly) จำพวก Episyrphus alternans, Syrphus fulvifacies และ Betasyrphys serarius มาตมที่ดอก คาดว่าแมลงวันบินพวกนี้ ถูกล่อมาโดยคิดว่ามีแหล่งอาหาร โดยดอกไม้ส่งกลิ่นออกไปไกล บางทีอาจจะเป็นกลิ่นที่คล้ายปัสสาวะ ส่วน โล่ (staminode) ที่ส่องแสงแพรวพราวเหมือนกับ หยดน้ำผึ้ง หรือ หยดน้ำ โดยหูด (wart) ที่อยู่ตรงกลางดอกมีลักษณะให้เห็นเหมือนที่ ให้แมลงมาเกาะแล้วก็ตกลงไปในกระเป๋า เพราะว่าตรงบริเวณนี้ลื่นมาก เมื่อตกลงไปแล้วก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ทางปากกระเป๋า ทางหนีออกมาก็คือบริเวณทางลาดๆทางด้านหลังที่มีขนขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ด้านใต้เกสรตัวเมีย และอับเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้จะมีลักษณะเหนียว และมีชีวิตอยู่ได้นาน 8 สัปดาห์ เกสรตัวผู้จะเกาะติดไปบนหลังของแมลงวันตัวห้ำ และเมื่อแมลงตัวนี้บินไปตอมดอกไม้อีกดอกแล้วตกลงไปใน กระเป๋า แล้วใต่ขึ้นไป เกสรตัวผู้ก็จะไปติดอยู่กับเกสรตัวเมียของดอกรองเท้านารี ในตอนที่แมลงได้พยายามเบียดแทรกขึ้นมาทางด้านใต้ ของเกสรตัวเมีย ด้วยลักษณะกระเป๋าที่คดโค้งทำให้หลังของแมลงปะทะสัมผัสเข้ากับผิวตรงบริเวณแป้นเกสรตัวเมียนั้น ทำให้การผสมพันธุ์ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้
ใน Paph. delanatii, Paph. micranthum, Paph. armeniacum และพวกใกล้เคียง และบาง species ของ Cypripedium และ Pragmipedium ความเป็นไปได้ในการผสมเกสรก็คงเป็นในทำนองเดียวกัน โดย รองเท้านารพวกนี้ จะต้องการผึ้งมากกว่าแมลงวันในการผสมเกสร ยกตัวอย่างเช่น Paph. micranthum โล่ของมันเหมือนกัน Cypripedium henryi ไม่เพียงแต่รูปร่าง หน้าตาที่คล้ายกันแล้วสีก็ยังใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งเหมือนกับ Cypripedium calceolus ที่มีการศึกษาไว้ว่าได้อาศัยผึ้งในการช่วยผสมเกสร
ในเวียดนามตอนเหนือ Paph. micranthum ที่ดอกมีสีสันคล้ายคลึงกับ Rhododendron sp. ซึ่งต้นไม้พวกนี้ ให้ดอกที่มีสีสรรดึงดูดพวกแมลงผสมเกสรชนิดต่างๆ นี้อยู่แล้ว ทางตอนเหนือของเวียดนาม และ ทางตอนใต้ของจีน บริเวณพื้นที่หินปูน ก็มี Rhododendron sp. ดอกขนาดใหญ่ทั้งสีขาว ชมพู ซึ่งมักจะพบว่าเกิดอยู่ใกล้ๆกับ Paph. micranthum แล้วพวกแมลงที่มาตอมดอก Rhododendron sp. ก็จะมีโอกาสที่จะแวะเวียนไปดอก ของ Paph. micranthum บ้างอยู่แล้ว พวกแมลงเล็กๆ ก็มักจะตกลงไปบริเวณกระเป๋าด้านในของ Paph. micranthum ที่มันสะสมน้ำฝนเอาไว้ เรามักจะเห็นว่ามีแมลงวันจำนวนมากตายคาอยู่ในกระเป๋า ส่วนแมลงที่ตัวโตหน่อย เช่น เต่าทอง แมลงวันดอกไม้ ก็ไม่สามารถออกมาทางปากกระเป๋าที่ค่อนข้างแคบได้ เราจึงเห็นมันตายคาอยู่ในนั้น ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าแมลงโตขนาดนั้น จะไม่พยายามกัดแทะเพื่อหาทางหนีออกจากผนังกระเป๋า ซึ่งสมมติฐานนี้ก็เพียงพอที่จะสนับสนุนถึง การพบเจอรองเท้านารี Paph. micranthum ในสภาพที่ดอกถูกตอดแทะจนเป็นรู เช่นนี้
การที่น้ำถูกเก็บกักอยู่ในกระเป๋าของ Paph. micranthum หลังจากที่ฝนตก ซึ่งโดยตามหลักวิชาการแล้ว มันเป็นการเพิ่มการดึงดูดของแมลง ซึ่งในฤดูดอกของไม้ชนิดนี้ อากาศจะแห้งมากๆ พวกแมลงพวกนี้ก็มักจะเข้าไปในบริเวณกับดัก ซึ่งไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสร ในขณะที่แมลงมีปริมาณมากมายที่ถูกพบเจอข้างในกระเป๋า แต่แมลงวันตัวห้ำ หรือ hover-flies ก็ยังเป็นแมลงชนิดเดียวที่ สังเกตได้ถึงว่ามันช่วยในการทำหน้าที่ผสมเกสร