นิเวศวิทยาของ รองเท้านารี
มีรองเท้านารี พันธุ์แท้ 5 ชนิดถูกที่รายงานว่าขึ้นบนต้นไม้ (epiphytes) มีดังนี้ Paph. parishii, Paph. lowii, Paph .villosum มักพบอยู่ตามต้นไม้ ในขณะที่ Paph. hirsutissimum และ Paph. granduliferum สามารกเติบโตแบอิงอาศัยได้ ส่วน พันธุ์แท้ที่เหลือมักพบเป็นแบบบนผิวดิน (terrestriasl) หรือ ตามรอยแยกของหิน (lithophytes)
ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์แท้เหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยที่รากของมัน เดินไปตามชั้นฮิวมัส เช่น พันธุ์แท้ใน subgenus Brachypetalum (Paph. concolor, Paph. bellatulum, Paph. niveum) ส่วนพันธุ์แท้ใน subgenus Paphiopedilum section Coryopedilum (Paph. stonei, Paph. sanderianum, Paph. philippinense), Pardalopetalum (Paph. dianthum) และ Paphiopedilum(Paph. hirsutissimum var. esquirolei และ Paph. barbigerum) รากจะสัมผัสหินจึงจัดเป็น lithophytes
ในกลุ่ม Brachypetalum มักพบชึ้นบนหินปูนที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง หรือ พบที่ชะง่อนหินที่ถูกกัดเซาะ Paph. concolor (เหลืองปราจีน) สามารถเติบโตบนทรายที่มีหินปูนเป็นส่วนประกอบ ในระดับความสูง 300 - 1,200 เมตร ในที่แสงน้อย จนถึง แสงแรงมาก ทางด้านทิศเหนือ หรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ของ หน้าผาหินปูน โดยรากจะเดินไปตามร่องหินที่มีดิน และยังสามารถ เติบโตได้ในแอ่งดินที่อยู่ตามรอยแยกของหิน หรือ บนสอส หรือในดินที่มีหญ้า หรือ ไม้พุ่มเตี้ยๆ pH 7.6 - 8.3 ในธรรมชาติจะออดอกในราวเดือนเมษา ถึง พฤษภาคม
สายพันธุ์ทางจีนในกลุ่ม Parvisepalum เช่น Paph. micranthum, Paph. emersonii และ Paph. malipoense ในจังหวัด กวางสี จะเติบโตบนหินปูน ในจังหวัด กิวซู Paph. malipoense เติบโตในป่าดิบชื้น ทางด้านทิศเหนือ และ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูเขาหินปูนที่ลาดชัน ที่ความสูง 850 - 1,400 เมตร โดยรากจะเดินไปตามดิน และ ใบไม้ผุ pH อยู่ในช่วง 7.5 กล้วยไม้ที่พบ ไกล้ๆเป็นพวก Cymbidium sp., Paph. concolor, Paph. micranthum, Phal. wilsonii, Vanda concolor และ Cheirostylis chinensis
ในเวียดนาม P. micranthum P. malipoense พบไนป่าเบญจพรรณ และ ป่าสนเขา ที่ระดับความสูง 900 - 1,500 เมตร พื้นที่ปกคลุมไปด้วยมอส เฟิน และ กล้วยไม้ชนิดต่างๆ ส่วนทางเวียตนามตอนเหนือ ที่ระดับความสูง 1,500 - 1,600 เมตร บนเทือกเขาหินปูน จะพบ Paph. dianthum, Paph. purpuratum, Paph. hirsutisimum var. chiwuanum
ทางเวียตนามตอนกลาง และ ใต้ Paph. delenatii, Paph. appletonianum, Paph. gratrixianum และ Paph. callosum เกิดบนดินปนทราย บางที พบตามซอกหิน ตามรอยแยกของหินแกรนิต Paph. gratrixianum พบบนหิน rhyolite
P. micranthum ที่จังหวัดกวางสี และ ทาง ตอนใต้ของ กิวซู พบตาม สันเขาสูงทางเหนือ และทาง ค่อนไปทางเหนือ ของภูเขาหินปูน ที่ความสูงระดับ 1,025 - 2,225 เมตร ตามชะง่อนหินที่มีดินเพียงเล็กนัอย ปนกับ มอส และ ซากใบไม้ pH อยู่ระหว่าง 6.99 - 7.50 ออกดอกในช่วง มีนาคม จนถึง พฤษภาคม เป็นช่วงอากาศแห้งและเย็น
จำนวนประชากรของ Paph. emersonii ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกวางสี ที่มีเจริญเติบโตทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภูเขาหินปูนในสภาพป่าชื้น จะพบว่ามันถูกปกคลุมไปด้วยมอส ที่ขึ้นตามดินเหนียว ทราย และ ดินที่มีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ จะออกดอกจะล่าไปเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
Paph. armeniacum เติบโตอยู่บนภูเขาสูงชัน ด้านทางทิศเหนือที่ความสูงระหว่าง 1,350 - 2,050 เมตร ในป่าไม้จำพวกโอ๊ค หรือตามพื้นที่มีหินแตกหัก หรือ ตามก้อนหินปูนใหญ่ๆที่ตกพังหักลงมา และมักพบในบริเวณที่ร่ม ออกดอกอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม จนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูใบไม้ผลิ
ในเวียดนาม Paph. malipoense พบบนหินปูนแตกๆทางตอนเหนือของเวียดนามใกล้ชายแดนจีน และ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม มักพบบนหินปูนที่ระดับความสูงที่ 850 - 1,200 เมตร ในสภาพป่าเปิด มีช่วง แห้งในฤดูหนาวและจะเปียกชื้น ในฤดูร้อน ในพันธุ์แท้ใน subgenus Parvisepalum ยกเว้น Paph. delenatii ตัวเดียวเท่านั้น พบว่าเติบโตตามวัสดุ ที่มีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ แต่ Paph. delenatii เจอบนภูเขาหินแกรนิตที่ระดับความสูง 800 - 1,200 เมตร บนภูเขาชื่อ Bi Dup ทางเวียดนามตอนใต้ ในระหว่างปี 1990 - 1994 จำนวนประชากรลดลงจนแทบไม่มีเหลือ เนื่องจากการนำออกจากป่ามากเกินไป
ใน section Coryopedilum Paph. gigantifolium, Paph. supadii และ Paph. sanderianum มักจะพบเจอตามหน้าผาหินปูน Paph. rothschildianum ในซาบา มาเลเซีย บอร์เนียว เติบโตบนตามชะง่อนหิน ลานหิน หน้าผาหิน ultrabasic (หินที่มีธาตุ N และ P ในปริมาณต่ำ) โดยขึ้นภายใต้ร่มเงาของต้น Gymnostoma
จำนวนประชากรของ Paph. sanderianum ที่เป็นแบบ lithophytesในซาราวัค ไม่มีนวนมากกว่า100ต้น ในกลุ่มประชากรหนึ่ง ถึงแม้ว่า มีรายงานว่า มีประชากรไม้มากถึง500ต้น เคยถูกค้นพบ ในบริเวณพื้นที่ระดับสูง (highland) นิวกีนี Paph. whilhelminiae เติบโตบนพื้นที่ลาดเอียงสูงที่เป็นดินเหนียว โดยมีแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบ และยังเต็มไปด้วยต้นหญ้ารกๆ กล้วยไม้ตัวอื่นๆที่พบบริเวณใกล้เคียงได้แก่ Spathoglottis spp., Phaius spp. (เอื้องพร้าว) และ Bulbophyllum spp. ที่พบเกิดตามพื้นดิน
สายพันธุ์แท้ใน section Cochlopetalum ที่สุมาตรา จาวา เติบโตบนหินปูนหรือหินที่มีแคลเซียมคาร์คาบอเนตสูงเป็นองค์ประกอบ ในจาวาได้มีการพบว่า Paph. glaucophyllum เจริญเติบโตโดยที่รากของมันจับยึดแน่นอยู่บนก้อนหินบนหน้าผาสูงชันที่เป็นหินปูน
ส่วน section Paphiopedilum Paph. fairrieanum และ Paph. spicerianum เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พบเจอได้บนดิน, หิน ที่สลายมาจากหินปูน Paph. hirsutissimum var. esquirolei ในจังหวัดกวางสี Paph. barbigerum จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของกิวซู และP. hirsutissimum var. esquirolei จัดเป็น lithophytes เจริญเติบโตบนชะง่อนหิน หน้าผาหิน รากของมันจะชอนไชไปตามรอยแยกของหิน รากจะแผ่ราบไปบนพื้นผิวที่มีเศษใบไม้ผุๆ ตามผิวดินตื้นๆ มันกระจายตัวไปตามหน้าผาซึ่ง P. hirsutissimum var. esquirolei เป็นรองเท้านารีที่ชอบขึ้นตามรอยแยกแตกของหิน (chasmohyte) อย่างแท้จริง ซึ่ง เป็นลักษณะนิสัยของพวกนี้ที่โดยส่วนมากจะอยู่ตามหน้าผาที่สูงชัน ตามซอกเขา ส่วนในที่ค่อนข้างร่มไม่ค่อยได้มีการศึกษามากนัก พวกนี้มีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.00 - 7.86 ในบางกอมีจำนวนยอดมากกว่า 100 ยอด ออกดอกตั้งแต่ เมษายนจนถึงต้นเดือนมิถุนายน และมีปริมาณการติดฝักที่ค่อนข้างสูง
ส่วน Paph. tranlienianum พบที่ระดับความสูง 400 - 500 เมตร Paph. henryanum พบที่ระดับความสูง 500 - 900 เมตร ไม้สองชนิดนี้ที่เจอที่เวียดนามก็ถูกพบว่าเจอบนภูเขาหินปูนทางตอนเหนือของเวียดนามมีการเจริญเติบโตแบบ lithophyte ด้วยเช่นกัน
Paph. barbigerum ก็มีลักษณะที่คล้ายกัน พบที่ระดับความสูงที่ 300 - 1200 เมตร เติบโตในที่ที่มีแสงจัดจนกระทั่งใต้ร่มเงาไม้ในป่าดิบชื้น มันมีลักษณะใกล้เคียงกับ Paph. helenae ที่อยู่ในป่า Keteleeria davidiana (ไม้จำพวกสน) โดยมักอยู่ทางทิศเหนือของภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการทำลายจากไฟป่าและจากการตัดไม้ ในเวียดนามพบว่าเกาะแน่นอยู่กับหน้าผาหินปูน ส่วน Paph. dianthum ในเวียดนามนั้นหาพบเจอในแบบขึ้นตามลักษณะ epiphyte ได้ยากในสภาพป่าดิบชื้นที่ความสูง 1200 - 1500 เมตร
จำนวนประชากรจำนวน 7 กลุ่มของ Paph. druryi ที่หายากในรัฐ Kerala ทางอินเดียตอนใต้ มันค่อนข้างที่จะเป็นไม้ที่เป็นพวก xerophytic (ไม้ที่ชอบแห้ง ชอบน้ำน้อยๆ ทนความแห้งแล้งได้ดี) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์แท้ตัวอื่นๆในอินเดีย เจริญเติบโตทางตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ที่ระดับความสูง 1,400 - 1,550 เมตร ในบริเวณที่มีทรายเล็กน้อย มีค่า pH 4.60 - 5.50 ในบริเวณทุ่งหญ้าที่มีพุ่มไม้เตี้ยๆ เกิดตามลานหินที่ถูกฝน แดดจัดจนมีการสึกกร่อน ถูกพบเป็นกลุ่มพื้นที่ตั้งแต่ 20 - 1,500 ตารางเมตร โดยกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดถึง 3,459 ต้น ส่วนกลุ่มที่เล็กที่สุดมีจำนวน 8 ต้น ไม้ตัวนี้ได้รับแสงเต็มวันในช่วงเดือน มีนาคม และ เมษายน และก็เป็นช่วงที่ไม้ออกดอกด้วย ไฟป่าก็มีผลกระทบสำคัญต่อจำนวนประชากรของไม้ชนิดนี้ เนื่องจากว่ามันเติบโตในบริเวณที่ใกล้ชิดกับป่าหญ้า Ochlandra (หญ้าชนิดหนึ่ง)
การศึกษาถึงการผสมเกสร ของ Paph. villosum จำนวน2 กลุ่ม ทางตอนเหนือของประเทศไทย กลุ่มหนึ่งทางพื้นที่ลาดเอียงด้านใต้ที่ระดับความสูง 1,540 - 1,790 เมตร และ อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ไปทางพื้นที่ลาดเอียงทางด้านเหนือที่ระดับความสูง 1,270-1,570 เมตร มันเป็นหนึ่งในรองเท้านารีที่เป็น epiphyte รองเท้านารีในกลุ่มอิงอาศัย ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเจอมันในแบบ lithophyte บ้าง การศึกษาของจำนวนประชากรจำนวน 98 กอ ในจำนวน 7 กลุ่มพื้นที่ที่แตกต่างกัน จากต้นไม้จำนวน 34 ต้นโดยต้นที่ให้อิงอาศัยหลัก ได้แก่ Eugenia angkae (ไม้จำพวกหว้า), Podocarpus nerifolius (พญาไม้ - เชียงใหม่/บัวละแวง - เชียงราย) และ Nyssa javanica (คางคาก) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่1,786 มิลลิเมตร เป็นการวัดในช่วงวลา 4 ปี โดยมีฝนหนักในช่วงพฤษภาคม และพฤศจิกายน ส่วนช่วงดอกมากที่สุดคือ ธันวาคมจนถึงเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนน้อยแต่มีหมอกหนา
ใน section Barbata มีรายงานเพียงตัวเดียวที่เจอบนหินปูน คือ Paph. hookerae ในกาลิมันตัน และ ซาราวัค อย่างไรก็ตามใน ซาบา Paph. hookerae ถูกพบว่าเกิดบนวัสดุที่หลากหลายมาก เติบโตบนใบไม้ผุๆ ไปจนถึงหิน Serpentine (หินที่มี แมกนีเซียมสูง) บนยอดเขา คินาบาลู ที่ความสูง 2,300 เมตร Paph. rothschildianum และ Paph. dayanum ไม้ทั้งคู่นี้เป็นไม้ของ คินาบาล ูที่อยู่ในบริเวณหิน Serpentine เช่นกัน แต่รากของมันชอบแผ่ไปตามใบไม้ผุๆมากกว่าที่จับยึดแน่นบนหินพวกนี้
สายพันธุ์หลักๆใน section Barbata ถูกพบว่าเติบโต ได้ทั้ง บนใบไม้ผุๆ เช่น Paph. javanicum var. virens บนคินาบาลู และบนวัสดุปลูกชนิดอื่น ตั้งแต่หินแกรนิต ไปจนถึงหินภูเขาไฟ เช่น Paph. superbiens ในสุมาตรา และ Paph. wenwothianum ในเกาะโซโลมอน Paph. callosum ในประเทศไทยถูกพบว่าเจอขึ้นอยู่บนพื้นทราย
ในฮ่องกง Paph. purpuratum เติบโตทางด้านทางทิศเหนือ และ ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นแห้งแล้ง โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอากาศเย็นลงจนถึงจุดเยือกแข็ง มันถูกพบขึ้นเป็นกอเล็กๆบนเทือกเขาหิน ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่ระดับความสูง 500 เมตร บางครั้งพบมันขึ้นตามที่ลาดเอียงใกล้ๆกับบริเวณแหล่งน้ำ ไม้ชนิดนี้เติบโตได้ในที่ร่มบนแผ่นมอสตามบริเวณชายน้ำ ซึ่งบางครั้งก็เป็นจุดที่น้ำสามารถท่วมถึงได้ บางทีก็พบว่าเติบโตตามซากใบไม้หนาๆใต้ต้นไผ่ ตามซอกหิน ที่มักจะร่มและชื้นมาก มีรายงานว่าสามารถพบได้ตั้งแต่ที่ความสูง120 และ 750 เมตร โดยส่วนมากจะอยู่ทางด้านทิศเหนือ และ ตะวันตกเฉียงเหนือ และบางทีก็พบว่าเจอทางตะวันตกเฉียงใต ้และตะวันออกเฉียงใต้ตลอดแนวริมลำธาร จำนวนต้นต่อกอค่อนข้างต่ำอยู่ในระหว่าง20-30 หน่อต่อกอ
รองเท้านารีเป็น Genus ที่ถูกพบว่าอยู่ในระดับความสูงที่ ระดับน้ำทะเลจนถึง 2,300 เมตร แต่มีเพียง Paph. hookerae, Paph. bullenianum และ Paph. lowii ที่ถูกพบว่าอยู่ในช่วงความสูงที่ค่อนข้างกว้าง เคยพบว่า P. hookerae var. volonteanum ในซาบาเติบโตในพื้นที่ต่ำท ี่900 เมตร และพบที่ยอดเขาคินาบาลูที่ความสูง 2,300 เมตร Paph. lowii โดยมากมักจะเป็นพันธุ์แท้ที่เกิดบนพื้นที่ต่ำๆ แต่มันก็ถูกพบว่าเจออยู่บนระดับความสูงถึง 1,600 เมตร ในคินาบาลูด้วยเช่นกัน
โดยหลักๆแล้ว Paphiopedilum species เติบโตในป่าดิบชื้นระดับต่ำๆ (Lower montane ) หรือ ป่าผลัดใบ (seasonally decidouous forest) มักจะเจอตามใต้ร่มเงาในป่า จะมีเพียงบาง species เท่านั้นเช่น Paph. druryi, Paph. exul และ Paph. philippinense ถูกว่าพบเจอบริเวณที่มีแดดเต็มวัน บาง species เช่น Paph. niveum และ Paph. rothschildianum จะเติบโตในบริเวณที่ไม่มีแสงแดดโดยตรงในช่วงระหว่างวัน ในสภาพปรกติ เดือน เมษายน Paph. rothschildianum พบว่าขึ้นที่ที่มีแสงส่องแค่ช่วงบ่ายเท่านั้น ในสายพันธุ์ที่ใบลาย สามารถเติบโตในที่ร่มจัดได้ ในจาวาและบอร์เนียว Paph. javanicum var. virens เติบโตได้ในพื้นที่ป่าที่ไม่ได้รับแสงจากพระอาทิตย์โดยตรงเลย
ในหลายๆพื้นที่ Paphiopedilum เติบโตในสภาพฝนชุก ความชื้นค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นเพียงช่วงฤดูหนึ่งเท่านั้น และ ไม้ในบางพื้นที่ก็ต้องผ่านช่วง ฤดูแล้ง โดยใบที่หนาๆที่แข็งเป็นมันของมันทำให้เหมาะต่อการทนความแห้งแล้งแล้วสามารถกลับการคืนสภาพได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับน้ำฝน