Paph. index

รองเท้านารี ชนิดใหม่

     จากที่ Dr. Bream ตรวจสอบ รองเท้านารีพันธุ์แท้ 28 ชนิด มีเพียง 8 ชนิด เท่านั้นที่ยอมรับว่าเป็น ชนิดใหม่ (new species) ได้แก่

  1. Paph. cerveranum
  2. Paph. crosii
  3. Paph. dixlerianum
  4. Paph. gigantifolium
  5. Paph. helene
  6. Paph. ooii
  7. Paph. tranlienianum
  8. Paph. vietnamense

มี 5 ชนิด ที่ยังต้องทำการตรวจสอบกันอีก ได้แก่

  1. Paph. anitum
  2. Paph. coccineum
  3. Paph. platyphyllum
  4. Paph. wenshaense
  5. Paph. viniferum

ส่วนชนิดที่เหลือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ


      1) Paph. aestivum Liu and Zhang

     Paph. aestivum ถือว่าเป็น variety ของ Paph. purpuratum มีความเตกต่างกันคือ เวลาออกดอก และ มีหลังคาเอียงไปข้างหน้าจนเลยกระเป๋า ไม่ถือว่าเป็นชนิดใหม่

      2) Paph. anitum Golamco

     มีความใกล้ชิดกับ Paph. adductum ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามันควรเป็น ชนิดใหม่หรือไม่ Paph. anitum เก็บได้ที่ มินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ในตอนแรก มีชื่อว่า Paph. adductum subspecies anitum แต่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงเพียงพอ รองเท้านารีชนิดนี้มีตีพิมพ์ อยู่ใน The journal of the Philippine Orchid Society โดยให้รายละเอียดว่า มีความแตกต่างจาก Paph. adductum ดังนี้ คือ สถาพการขึ้น สีดอก ขนาดดอก ฤดูการออกดอก

Paph. adductum

Paph. anitum

 พบที่ ด้านตะวันออกของมินดาเนา

 พบที่ ด้านเหนือของมินดาเนา

 ความสูง 220 – 1,000 เมตร

 ความสูง 1,250 – 1,350

 ขึ้นที่ร่มจัด ใต้ต้นไม้สูง บนหิน หรือ ที่ลาดชันที่มีเศษกึ่งไม้ใบไม้

 แสงปานกลาง มีหญ้าแซม ใต้ต้นไม้เตี้ย บนหินก้อนเล็ก กับทราย  ปนกับฮิวมัส

 ความชื้น 80 – 100%

 ความชื้น 75 – 80%

 ออกดอก ช่วง เมษายน ถึง กันยายน

 ออกดอก ตลอดปี

     ต้นของ Paph. anitum มีขนาดใหญ่กว่า Paph. adductum และยังมีใบ ก้านช่อดอก และ ขนาดดอก ใหญ่กว่าด้วย แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่เพียงพอจะ ยอมรับเป็น ชนิดใหม่ เพราะว่า ขนาดของต้นและดอก จะแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อม ในป่า และ การปลูกเลี้ยง

     Paph. anitum ควรเป็น subsp. หรือ var. ของ Paph. adductum

      3) Paph. brevilabium Liu and Zang

     Paph. brevilabium ได้มาจาก ต้นที่มาจากการปลูกเลี้ยง โดยที่ไม่รู้ที่มา มีความแตกต่าง กับ Paph. wardii โดยมีกลีบดอกด้านล่างแยกออกจากกัน โดยปกติ รองเท้านารีจะมีกลีบนอกติดกันเสมอ

      4) Paph. burmanicum Zang and Liu

      มีความแตกต่างจาก Paph. wardii โดยใบไม่มีลาย และ กระเป๋ากลม

ตัวอย่างลายใบอาจจะไม่มีได้ในบางต้นของรองเท้านารีที่ใบลาย เช่น Paph. sukhakulii, Paph. purpulatum, Paph. emersomii และ ยังพบใน Paph. victoria-mariae, Paph. liemianum

      5) Paph. cerveranum Braem

     Paph. cerveranum มีอีกชื่อ คือ Paph. robinsonii โล่ของ Paph. cerveranum ด้านบนมีติ่งยื่นที่ด้านบน ซึ่งแตกต่างจาก Paph. appletonianum , Paph. bullenianum หรือ Paph. robinsonii

     Cribb เสนอว่าเป็นลูกผสม ของ Paph. bullenianum กับ ชนิดอื่น ที่น่าจะเป็น Paph. hookerae แต่ไม่มี การยืนยัน มีหลาย clone ที่เชื่อว่าเก็บมาจากป่า ที่ไม่สามารถบอกสถานที่ได้ เพื่อป้องกันการเก็บ ชื่อตั้งมาจาก Frank Cervera

      6) Paph. coccineum Perner and Hermann

     ไม้ต้นนี้ มีรายงานครั้งแรก จากนักเลี้ยง กล้วยไม้ที่ เวียดนาม เขาบอกว่า เก็บมาจาก จังหวัด Cao Bang ทางตอนเหนือของ เวียดนาม เป็นที่เรียกว่า “ Red Paph. helene ” มีความคล้ายกับ Paph. barbigerum และ Paph. helene แต่ ไม่มี ความเกี่ยวข้องกันกับ สองชนิดที่กล่าวมา โล่ของ Paph. coccineum เมือมองผิวเผินจะคล้าย Paph. barbigerum var. lockianum

     โล่ของ Paph. coccineum ไกล้เคียงกับ Paph. hermannii รวมทั้งขอบของกลีบดอกด้วย

     คำว่า coccineum ได้มาจาก สีแดงของหลังคา

      7) Paph. crossii Braem and Senghas

     ควรใช้ชื่อ Paph. crossii แทน Paph. callosum

     Paph. crosii (2n = 32) พบได้ที่ ประเทศไทย มีความใกล้ชิดกับ Paph. barbatum (2n = 38) มีความแตกต่างคือ มีหลังคาที่ใหญ่กว่า และ มีหูที่ห้อยลง มี โครโมโซมไม่เท่ากัน

      8) Paph delicatum Liu and Zhang

      Liu และ Zhang พบไม้ต้นนี้ที่ สวน Shengzhen City Wutonshan มีลักษณะ เหมือน Paph. helene ทุกประการ มีเพียงสีเท่านั้นที่ต่าง

      9) Paph. densissimum Liu and Chen

     Paph. densissimum เป็นพวกเดียวกันกับ รองเท้านารี อินทนน (Paph. villosum ) มี ความแตกต่างคือ มีขนหนาที่ ซองดอก ก้านดอก และ ด้านนอกของกลีบนอก ตัวอย่าง แห้งได้มาจาก สวนกล้วยไม้

      10) Paph. dixlerianum Braem and Chiron

     Paph. dixlerianum พบเมื่อ ปี 1997 ที่ พม่า มีความใกล้เคียงกับ Paph. sukhakulii ของไทย มีความแตกต่างที่ เส้าเกสร

      11) Paph. gigantifolium Braem, Baker and Baker

     Paph. gigantifolium มีความไกล้ชิดกับ Paph. supadii และ Paph. rothschildiaum แต่ Paph gigantifolium มี ใบที่ใหญ่มาก นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างของ จำนวนดอก กลีบดอก หลังคา และลักษณะของโล่ และมีรังไข่สีขาว เหมือน Paph. sanderianum

      12) Paph. globulosum Liu and Chen

     ไม้ต้นนี้ ต่างจาก Paph. micranthum โดยมี ใบที่กว้างกว่า โล่ใหญ่กว่า ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

      13) Paph. helene Averyanov

     Paph. helene มีการค้นพบไม่กี่ปี มีข้อโต้แย้งว่าเป็น variety ของ Paph. barbigerum

     Paph. helene มี โล่เกือบกลม และ กลีบตรง ขอบไม่หยัก ต้นมีขนาดเล็กมาก

     ซื่อได้มาจาก Helena Averyanov

      14) Paph. hermannii Fuch and Reisinger

      จากการ ศึกษา ไม้ป่าพบว่า Paph. hermanii น่าจะเป็น ลูกผสมที่เกิดในธรรมชาติ ใบค่อนข้างจะไม่มีความแตกต่างกัน แต่ดอกมีความแตกต่างกันมากในแต่ละต้น โดยเฉพาะสี ของหลังคา และ รูปร่างของโล่ Paph. hermenii มีประชากรในธรรมชาติที่มากพอจนมีการผสมในกลุ่มประชากร Paph. hermanii ตั้งมาจาก ชื่อของ นักเล่นกล้วยไม้ที่ เยอรมัน ชื่อ Rolf Hermann

      15) Paph. intaniae Cavastro

     ไม้ต้นนี้ยังเป็นที่สงสัยว่ามาได้อย่างไร ที่แน่ๆ คือ อยู่ใน subgenus Polyantha ไกล้เคียงกับ Paph. philippinense และน่าจะเป็นลูกผสมของ Paph. philippinense รูปร่างของโล่บอกว่ามีเลือดของ Paph. parishii หรือ Paph. dianthum ไม่ต้นนี้ได้มาจาก สวนหนึ่งที่ อินโดนีเซีย คิดว่ามาจาก เกาะ Sulawesi

       16) Paph. microchilum Liu and Chen

     ไม้ต้นนี้ พบที่ สวน Shengzhen City Wutonshan มีลักษณะเหมือน Paph. wardii ที่กระเป๋าเบี้ยว

      17) Paph. multifolium Liu and Zhang

     Paph. multifolium มีลักษณะเหมือน Paph. wardii จึงใช้เป็นชื่อพ้องของ Paph. wardii

      18) Paph. ooii Koopowitz

     Paph. ooii จัดอยู่ใน subgenus Polyantha

       19) Paph. parnatanum Cavastro

     Paph. parnatum เป็นลูกผสมที่คิดว่ามีจาก ฟิลิปปินส์ และส่งผ่าน ไปที่ ยุโรป ผ่านทาง อินโดนีเซีย จากการดูดอกทำให้ทราบว่ามีเลือดของ Paph. sukhakulii

      20) Paph. platyphyllum Guss

     เมื่อก่อนไม้ต้นนี้มีชื่อว่า Paph. stonei var. latifolium พบครั้งแรกที่ Sarawak โดย Toyoshima เมื่อ 26 เมษายน ค.ศ. 1964 คาดว่าเป็นลูกผสมจากการเพาะเลี้ยง ที่มีเลือดของ Paph. stonei กับ รองเท้าที่ไม่เปิดเผยชื่อ ต้นที่ เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันได้มาจากการแยกหน่อของต้น Paph. stonei var. latifolium ‘Ruth Kennedy', HCC/AOS จากการศึกษาด้าน ยีน พบว่า ยีน มีความคล้ายกับ Paph. stonei Paph. kolopakingii และ Paph. supardii

       21) Paph. puberulum Lei and Zhang

คาดว่า ไม้ต้นนี้มาจากตอนเหนือของ เวียดนาม ใกล้ชายแดนจีน ปลูกอยู่ที่ สวน Shengzhen City Wutonshan มีลักษณะเหมือน Paph. cerveranum

      22) Paph. rhizomatosum Chen and Liu

     ไม้ต้นนี้มีรายงานครั้งแรกว่า เป็น ลูกผสมป่าระหว่าง Paph. barbigerum กับ Paph. villosum โดยใช้ชื่อว่า Paph. x areeanum ซึ่งเหมือนกับ Paph. rhizomatosum

     มีรายงานใหม่ว่าพบ Paph. vejvarutianum ที่ ประเทศไทย ซึ่งเหมือนรายงานก่อนหน้านี้ ของ Paph. x areeanum และ Paph. rhizomatosum

      23) Paph. sugiyamanum Cavestro

     เหมือนกับ Paph. hennisianum

      24) Paph. tranlienianum Gruss and Parner

     Paph. tranlienianum พบโดย Mrs. Tran Ngo Lien ที่ เวียดนามตอนเหนือ มีใบสีเขียว ดอกเดี่ยว แน่นอนว่าต้องอยู่ใน subgenus Paphiopedilum บางคนโต้แย้งว่า เป็นลูกผสมของ Paph. hirsutissimum และ Paph. helene แต่ไม่มีกลีบคล้าย Paph. hirsutissimum เลย

     Paph. tranlienianum อยู่ในกลุ่ม ของ Paph. insigne ซึ่งเคยมีรายงานในชื่อ Paph. caobangense (Tich, 1999) แต่ไม่ยอมรับ

      25) Paph. jvarutianum Gruss and Roellke

     ดูที่ Paph. rhizomatosum

      26) Paph. vietnamense Gruss and Parner

     Paph. vietnamense อยู่ใน subgenus Parvisepalum มีความใกล้ชิดกับ Paph. delenatii

      27) Paph. viniferum Koopowitz and Hasegawa

     ไม้ต้นนี้ รู้จักกันในชื่อ Paph. callosum ‘Bo-Jac', HCC/AOS ที่มีสีแดงเข้ม จุดใหญ่

      28) Paph. wenshanense Liu and Zhang

     ไม้ต้นนี้มีลักษณะ ระหว่าง Paph. concolor และ Paph. bellatulum มีรายงานครั้ง แรกจาก สวนที่ ฮ่องกง โดยเป็นไม้ป่า ทำให้มีปัญหาว่าจะแยกออกจาก ลูกผสมที่จากการเพาะเลี้ยง Paph. Conco-bellatulum ได้อย่างไร จึงมีการใช้ชื่อต้นป่าว่า Paph. wenshanense และ ลูกผสมที่จากการเพาะเลี้ยงว่า Paph. Conco-bellatulum